สารพัน ปัญหาเครื่องปริ้นเตอร์ และวิธีการแก้ไข

หากคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วพบว่ามีรอยขีดเส้นเล็กๆ อยู่ที่ขอบกระดาษด้านใดด้านหนึ่งเป็นระยะๆ ละก็ ให้สันนิษฐานก่อนว่าสาเหตุมาจาก Roller หลักที่อยู่บนเส้นทางเดินกระดาษมีคราบสกปรก ถ้าตรวจแล้วไม่พบให้ลองตรวจสอบที่ตลับโทนเนอร์ว่ามีการชำรุดหรือไม่? บ่อยครั้งที่พื้นผิวของดรัมในโทนเนอร์มีรอยเล็กๆ ทำให้เวลาพิมพ์เอกสารร่องรอยตำหนินั้นจึงติดลงบนกระดาษด้วย อย่าลืมตรวจสอบชนิดของกระดาษที่คุณใช้ด้วยเช่นกัน

ปัญหานี้พบได้บ่อยๆ งานพิมพ์ที่มีตัวหนังสือหายไปเป็นช่วงๆ หรือฟอนต์ช่วงล่างขาดหายไปเป็นระยะๆ ข้อสันนิษฐานแรกให้มุ่งเป้าไปที่ผงหมึกในตลับอาจกำลังจะหมด หน้าสัมผัสของชุดลำเรียงกระดาษอาจมีคราบสกปรก รวมทั้งตลับโทนเนอร์เองอาจมีเศษผงหมึกเป็นคราบเลอะอยู่ อย่าลืมเช็กดูที่ Printer Properties ว่าคุณไม่ได้อยู่ในโหมดการพิมพ์แบบ Eco Mode ด้วย

เคยเห็นงานพิมพ์ที่มีแต่เส้นยาวๆ เป็นระยะๆ บนหน้ากระดาษบ้างไหม ถ้าเคยละก็ ตลับหมึกของคุณใกล้หมดแล้ว นอกจากนี้สาเหตุอาจมาจากองค์ประกอบทางฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น พื้นผิวของดรัมชำรุดหรือมีสิ่งสกปรก ชุด Fuser Film มีคราบหรือมีอะไรไปติดอยู่ รวมไปถึงมีสิ่งบดบังกระจกสะท้อนแสงในชุด Scanner ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการทำความสะอาดโดยด่วน

งานพิมพ์โอเค ตัวหนังสือไม่หลุด กระดาษไม่เลอะเศษหมึก แต่บริเวณด้านบนและด้านล่างดันมีจุดไข่ปลาเกิดขึ้นซะนี่ สาเหตุของปัญหาที่ว่านี้มาจากองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นตัว Transfer Roller ขัดข้องหรือชำรุด แผงวงจร Formatter PCA เกิดความบกพร่อง ซึ่งอาจรวมไปถึงแผงควบคุมการจ่ายไฟ DC มีปัญหาเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ตรงนี้คงต้องส่งศูนย์ซ่อมอย่างเดียวแล้วละ

ปัญหานี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอมาบ้าง นั่นคืองานพิมพ์มีเส้นยาวๆ ทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนว และบางทีก็ทับตัวหนังสือทุกบรรทัดด้วย สาเหตุให้มุ่งเป้าไปที่ความสกปรกเป็นหลัก ตรวจสอบ Roller หลักที่เป็นตัวป้อนกระดาษและตัวที่อยู่ในเส้นทางเดินกระดาษว่ามีคราบสกปรกอยู่หรือไม่? หรือมีรอยขีดข่วนบนพื้นผิวด้วยหรือไม่ และอย่าลืมสำรวจตลับโทนเนอร์ด้วยว่าถูกติดตั้งอย่างถูกต้องหรือลงล็อกดีแล้วหรือยัง?

ถ้าบังเอิญคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วเห็นว่าสีซีดจากผิดปกติละก็ อันดับแรกตรวจสอบดูว่าคุณตั้งค่าการพิมพ์ในโหมดประหยัดหรือไม่ บางทีอาจมีใครไปปรับเล่น อย่างที่สองตลับหมึกใกล้หมดแล้วหรือยัง ตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุหลักก็ได้ และอย่างที่สามตรวจสอบดรัมว่ามีอะไรไปติดขัดหรือไม่ เพราะถ้าระบบไม่ดูดผงหมึกออกจากดรัมหรือดูดอกไม่ได้ ก็ทำให้งานพิมพ์ออกมามีสีซีดจางแน่ๆ

อาการแบบนี้มีหลายสาเหตุเช่นกัน ถ้าวิเคราะห์ง่ายๆ ก็ตั้งแต่กระดาษผิดประเภท หรือมีความชื้นที่กระดาษมากเกินไป ชุดฟีดกระดาษออกหลังพิมพ์กินเนื้อหมึกเข้าไปในลูกกลิ้ง ตรงนี้อุปกรณ์อาจจะเสื่อมสภาพก็ได้ ส่วนที่ลึกกว่านี้ก็มีชุดควบคุมเลเซอร์ขัดข้อง รวมทั้งตัวขับเคลื่อนหรือมอเตอร์และฟันเฟืองต่างๆ ทำงานสะดุด ซึ่งจะส่งผลให้กระดาษที่กำลังฟีดเข้าไปอาจอยู่ผิดตำแหน่งหรือเลื่อนออกจากตัวป้อนกระดาษได้เช่นกัน

อย่าเพิ่งรีบร้อนเอางานพิมพ์สำคัญของคุณส่งให้หัวหน้าหรือลูกค้าดู ถ้าคุณยังไม่ได้พลิกกระดาษกลับไปดูดด้านหลังเพราะมันอาจเปรอะเปื้อนไปด้วยเศษผงหมึกก็เป็นได้ ปัญหาแบบนี้มักไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็นกัน ให้คุณทำความสะอาดตั้งแต่ถาดรองกระดาษ ตัวฟีดกระดาษเข้าออก หรือตามลูกกลิ้งต่างๆ ที่อาจมีผงหมึกติดเป็นคราบฝังตัวอยู่

พอเจอปัญหาหมึกจางไปแล้ว คราวนี้ก็มาลองเจอกับงานพิมพ์ที่มีเส้นเข้มเกินไปดูบ้าง สาเหตุหลักๆ ของปัญหานี้มาจาก ส่วนที่สัมผัสกับกระดาษเกินไป ต้องเช็กดูที่ดรัมว่ามีอะไรขัดข้องอยู่หรือไม่ รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญอย่างแผงควบคุม Laser Scanner ที่อาจมีปัญหาในระหว่างสั่งพิมพ์ ซึ่งถ้ามีการอ่านค่าผิดเพี้ยนก็อาจมีปริมาณผงหมึกที่มากเกินความจำเป็นถูกส่งออกไปยังแผ่นกระดาษ

งานพิมพ์ที่มีตัวหนังสือบิดๆ เบี้ยวๆ หรือแม้แต่กระดาษม้วนงอตอนเครื่องฟีดกระดาษออกมา ให้ตรวจสอบดูว่าคุณป้อนกระดาษถูกชนิดที่เครื่องพิมพ์รองรับหรือไม่? โดยเฉพาะห้ามนำกระดาษโฟโต้ หรือกระดาษมันวาวต่างๆ ที่ใช้กับเครื่องอิงค์เจ็ตมาใส่โดยเด็ดขาด นอกจากนี้ถ้าอากาศรอบหรือในห้องที่วางเครื่องพิมพ์มีความชื้นหรือร้อนจนเกินไป ก็อาจส่งผลให้ระบบพิมพ์ต่างๆ ทำงานผิดเพี้ยนได้เช่นกัน ให้ลองไล่เช็กทีละจุดดู

ปัญหานี้นอกจากภาพก็อาจรวมไปถึงตัวหนังสือที่ปรากฏอยู่บนงานพิมพ์ด้วย อย่างแรกเลยก็คือ หากตอนวางกระดาษมีการบีบอัดหรือเฉียงไม่ตรงช่อง ตอนที่ระบบฟีดกระดาษเข้ามาพิมพ์นั้น แน่นอนว่ากระดาษย่อมอยู่ในตำแหน่งที่เหลื่อมหรือไม่ตรงร่องด้วย ทำให้ภาพหรือตัวหนังสือเหลื่อมทับกันหรือเส้นต่างๆ ที่ปรากฏก็จะไม่ตรงด้วย โดยเฉพาะตารางจะเห็นได้อย่างชัดเจน ดังนั้น เวลาป้อนกระดาษเข้าให้ตรวจสอบด้วย

บางครั้งคุณอาจเจอกับช่องว่างเล็กๆ ที่หายไปบนภาพ ตัวหนังสือ หรือเส้นต่างๆ ซึ่งบริเวณที่หายไปจะไม่มีหมึกติดอยู่เลย การตรวจสอบแรกให้ดูว่ากระดาษแผ่นนั้นมีความเรียบเสมอกันหรือไม่ หรือเป็นกระดาษพิเศษที่เครื่องพิมพ์ไม่รู้จักหรือเปล่า? ลองสั่งพิมพ์ใหม่ด้วยกระดาษแผ่นใหม่ ถ้ายังไม่หายละก็ ชุด Transfer Roller อาจเกิดขัดข้องหรือมีปัญหาในระหว่างที่สั่งพิมพ์ ตรงนี้อาจจะร้องเรียกช่างมาดูให้

หากคุณสั่งพิมพ์เอกสารแต่ได้หน้ากระดาษเปล่าๆ ออกมา อันดับแรกให้ตรวจสอบดูว่าเครื่องพิมพ์มีการฟีดกระดาษออกมาหลายแผ่นหรือไม่ เพราะหากกระดาษติดกันออกมาเยอะๆ แผ่นที่ติดตัวหนังสืออาจจะไม่ใช่แผ่นกระดาษเปล่าแรกที่หลุดออกมา นอกจากนี้ถ้าคุณซื้อเครื่องใหม่ อย่าลืมดึงแผ่นพลาสติกที่ปิดโทนเนอร์ออกด้วยไม่อย่างนั้นเวลาพิมพ์ระบบจะดูดหมึกออกมาจากดรัมไม่ได้แน่ แต่ถ้าอาการรุนแรงกว่านั้นก็เป็นไปได้ว่าแผงควบคุมการจ่ายหมึกอาจเสียหาย

อาการแบบนี้น้อยนักที่จะเกิดขึ้นยิ่งเป็นเครื่องใหม่ด้วยแล้วเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก แต่ถ้ามันเกิดขั้นมาจริงๆ ก็แสดงว่าแผงควบคุมการปล่อยหมึกขัดข้อง จึงไม่สามารถคอนโทรลหมึกได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตรงนี้จะไปเกี่ยวข้องกับส่วนควบคุม Laser Scanner ด้วย อย่าลืมดึงตลับโทนเนอร์ออกมาดูความผิดปกติ ซึ่งตัวตลับอาจเสียหายก็เป็นไปได้เช่นกัน

เป็นอีกหนึ่งอาการที่เจอกันได้บ่อยๆ สั่งพิมพ์เอกสารแต่ดันมีเส้นเหมือนแถบบาร์โค้ดยาวเป็นแนวจากขอบบนถึงขอบล่างติดมาด้วย ตรงนี้ถ้าเครื่องพิมพ์ของคุณใช้มานานแต่ยังไม่เคยเปลี่ยนดรัมหรือโทนเนอร์เลย แนะนำให้เปลี่ยนได้แล้วเพราะเป็นต้นเหตุหลักของอาการที่ว่านี้เลยเชียว นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องของเศษผงหมึกที่ไปติดตามส่วนสำคัญเช่น เลนส์สแกนเลเซอร์ ลูกกลิ้งที่ฟีดกระดาษก่อนพิมพ์

เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมียูทิลิตีสำหรับบริหารจัดการระบบพิมพ์มาให้ และมักจะดูแลเรื่องต่างๆ ของการพิมพ์ให้เกือบหมด ถ้าคุณสั่งพิมพ์แต่ฟอนต์เกิดตัวเล็กผิดปกติทั้งๆ ที่ไม่ได้ปรับขนาดในเวิร์ดเลย ให้ลองตรวจสอบดูที่ Print Preference หรือตัวยูทิลิตีดูว่ามีการปรับโหมดพิเศษอะไรหรือไม่ หรือมีการย่อฟอนต์แบบอัตโนมัติเองหรือไม่? ให้ปรับเป็นค่าที่สามารถพิมพ์ได้ตามปกติ

ปัญหานี้เกิดขึ้นได้ทั้งที่เป็นตัวหนังสือเพรียวๆ และการสั่งพิมพ์ภาพ สาเหตุก็มาจากการตั้งค่าการพิมพ์ไม่ถูกต้องนั่นเอง เช่น มีฟอนต์บางตัว หรือข้องความในบรรทัดบนกับบรรทัดสุดท้ายตกขอบไป แบบนี้หมายความว่ามีการตั้งค่าไม่ตรงนั่นเอง การแก้ปัญหาสามารถทำได้จากตัวโปรแกรมที่คุณใช้งานอยู่ขณะนั้น เช่น Acrobat, Word, Excel และโปรแกรมอื่นๆ เมื่อตั้งค่าการพิมพ์และตั้งค่าหน้ากระดาษแล้วให้ลองพิมพ์ทดสอบดู

โดยปกติแล้ว งานพิมพ์เอกสารที่สมบูรณ์นอกจากตัวหนังสือหรือเส้นตารางๆ ต่างๆ จะชัดเจนแล้ว   แบ็กกราวนด์ของกระดาษก็ไม่ควรเป็นสีอื่นใด นอกเสียจากสีขาวของเนื้อกระดาษ แต่ถ้ามันกลายเป็นสีออกเทาๆ เหมือนโหมดเกรย์สเกลแล้วละก็ ตรวจสอบกระดาษก่อนเลยว่าถูกประเภทหรือเปล่า? และลองเข้าไปดูในยูทิลิตีการพิมพ์ว่ามีการเซตแบ็กกราวนด์ให้เป็นสีใดไว้หรือไม่? ถ้าทุกอย่างที่บอกไปอยู่ดีเป็นปกติด ให้สันนิษฐานว่าตลับโทนเนอร์หรือดรัมอาจจะชำรุดเสียหายได้

งานพิมพ์ภาพถ่ายด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั้งสีและขาวดำจะออกมาสวยสุดยอดหรือน่าประทับใจได้นั้น นอกจากภาพต้นแบบต้องดีแล้ว ระบบการทำงานของเครื่องยังต้องไม่ขัดข้องหรือทำงานเป็นปกติด้วย สำหรับอาการที่เกิดขึ้นบนภาพและฟอนต์ในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่มาจากการตั้งค่าการพิมพ์ไม่ตรงกับกระดาษที่ใช้ หรือทางกลับกันนั้นกระดาษที่ใช้ก็ไม่ตรงกับค่าการพิมพ์ที่ได้เลือกไว้นั่นเอง

ตัวหนังสือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือภาพที่สั่งพิมพ์โย้เย้ไม่ตรงหรือพอดีกับที่เราตั้งค่าหน้ากระดาษเอาไว้ละก็ การวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นให้มุ่งเป้าที่ถาดใส่กระดาษก่อนเลย ถ้าคุณวางปึกกระดาษแน่นหรือไม่ตรงรางป้อนกระดาษ เวลาที่ลูกกลิ้งฟีดกระดาษเข้าไปมันย่อมเข้าไปไม่ตรงด้วย ทำให้เสียเวลาสั่งพิมพ์ตำแหน่งบนกระดาษจึงไม่ถูกต้อง เพราะกระดาษมันไม่ตรงนั่นเอง

เครื่องพิมพ์ที่ไม่ได้พิมพ์บ่อยๆ อาจมีปัญหาหลายอย่างเวลากลับมาใช้งานอีกครั้ง หนึ่งในนั้นก็คือคุณภาพของกระดาษที่อาจเสียไป เช่น ถ้าคุณใส่กระดาษไว้ในถาดเป็นเวลานานๆ แถมยังใส่เต็มความจุดด้วย การปล่อยเอาไว้โดยไม่มีการพิมพ์เลย กระดาษพวกนี้จะติดกันด้วยความชื้นในห้อง หรือหากเครื่องวางอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกระดาษก็จะกรอบเอาง่ายๆ เวลาพิมพ์ออกมาคุณภาพของงานจึงไม่ได้อย่างที่ต้องการ

เคยเจอกับงานพิมพ์ที่มีเส้นขาวเล็กพากเป็นแนวยาวของหน้ากระดาษบ้างไหม อันที่จริงไม่ใช่เป็นหมึกสีขาว แต่เป็นช่องว่างเล็กๆ ที่หมึกพิมพ์ลงไปไม่ได้นั่นเอง และอาการที่ว่านี้มีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่างด้วย ตั้งแต่โทนเนอร์และดรัมมีคราบสกปรก กระดาษผิดประเภท เช่น กระดาษมันที่ใช้กับเครื่องเลเซอร์ไม่ได้ หากพิมพ์ออกมาก็อาจให้ผลลัพธ์แบบนี้ได้ นอกจากนี้ภายในอาจมีอะไรไปบดบังกระจกสะท้อนแสดงเลเซอร์ในลักษณะแนวยาวได้ ทำให้อาการออกมาในลักษณะนี้

ถ้างานของคุณหยุดพรินต์กลางครันหรือไม่มีการพรินต์ออกมาเลยให้สันนิษฐานได้ว่าเกิดปัญหากระดาษติดแล้วซึ่งอาจเพราะกระดาษขาด ,พับ หรือป้อนกระดาษไม่ถูกต้อง บรรยากาศที่มีความชื้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งเช่นกัน พรินเตอร์ที่มีปัญหากระดาษติดบ่อยๆ อาจจะต้องมีการทำความสะอาดโดยผู้ชำนาญการหรือต้องเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น คุณภาพของกระดาษที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นตัวการทำให้เกิดกระดาษติดได้ เพียงแค่จ่ายเพิ่มอีกหน่อยเพื่อซื้อกระดาษที่มีคุณภาพดีกว่าต้องมาอารมณ์เสียกับปัญหากระดาษติดภายหลัง
          เครื่องพรินเตอร์อิงก์เจ็ตโดยเฉพาะรุ่นราคาถูกๆ มักอ่อนไหวกับตำแหน่งการใส่กระดาษและน้ำหนักของกระดาษ ให้ที่กั้นในช่องใส่กระดาษอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะกับกระดาษและอย่าป้อนกระดาษต่างชนิดกันปนกันในช่องใส่กระดาษ เมื่อกระดาษติดให้ดึงกระดาษออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับทีกระดาษถูกดึงเข้าไปในเครื่องพรินเตอร์แล้วตรวจดูว่ามีเศษกระดาษหลงเหลืออยู่หรือเปล่า ถ้าลูกกลิ้งหรือตัว Roller ที่ใช้ดึงกระดาษเอียงให้ลองพยายามค่อยๆ จัดตำแหน่งของมันใหม่อย่างระมัดระวัง

ปัญหากระดาษค้างหรือติด เมื่อพิมพ์กับกระดาษที่แกรมหนาๆ สามารถป้องกันได้ง่ายๆ นั่นคือ เวลาใส่กระดาษในถาดไม่ควรตั้ง Guide ให้ชิดติกกับขอบกระดาษ ควรเว้นว่างไว้ประมาณ 1 กระเบียด

ใช้กระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกรองกระดาษ เพื่อให้เครื่องพิมพ์สามารถดูดกระดาษได้ง่ายๆขึ้น (แต่ระวังอย่าให้แผ่นรองโดนดูดไปด้วยนะครับ) อ้อ… แล้วไม่ควรใส่กระดาษเกินกว่า 5 แผ่นนะครับ (ลองดูคู่มือของเครื่องพิมพ์ประกอบด้วย ว่ารับประกันดาษหนาสุดได้กี่แกรม) เพราะแต่ละรุ่นอาจรองรับกระดาษได้ไม่เท่ากัน ทดลองใส่แล้วพิมพ์ดูดครั้งละ 1 แผ่นจนถึง 5 แผ่นแล้วดูว่ากี่แผ่นดีที่สุด

กรีดกระดาษก่อนใส่ในเครื่องพิมพ์เสมอ เพื่อให้อากาศสามารถเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างกระดาษได้และเพื่อให้ฝุนผงที่เกาะอยู่หลุดออก ถ้าทำไม่เป็นให้จับปลายด้านใดด้านหนึ่งแล้วสะบัดๆ จนครบ 4 ด้าน ก็ได้ครับ จากนั้นม้วนหัวกระดาษให้งอเล็กน้อยก่อนใส่เครื่องพิมพ์ เพื่อให้ลูกกลิ้งดูดกระดาษได้ง่ายขึ้น

สำหรับหมึกพิมพ์นั้นการทำความสะอาดให้ใช้ซอฟแวร์ที่มากับเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์เกี่ยวกับการดูและรักษาหมึก เช่น Cleaner แต่ถ้าหากไม่มีหรือซอฟต์แวร์ใช้ไม่ได้ผลก็ให้ลองเอาตลับหมึกแช่ไว้ในน้ำอุ่นสักครู่แล้วจึงซับด้วยผ้าแห้งที่ไม่มีขน หากไม่ได้ผลจริงให้ใช้สำลีพันไม้หรือคัตตอนบัตชุบแอลกอฮอล์เช็ตแผลหรือทินเนอร์ (อันนี้ต้องระวังอย่าให้ถูกส่วนที่เป็นพลาสติกนะครับ) แล้วแต้มเบาๆ ที่หัวหมึก
          สำหรับเครื่องพรินเตอร์ของ HP และ Lexmark ที่มีปัญหาและได้ทดลองแก้ปัญหาด้วยการใช้โปรแกรม Head cleaning และ Nozzle check แล้วปรากฏว่า ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหัวพิมพ์ตันได้ ให้ลองใช้น้ำอุ่นประมาณ 1 แก้ว ใส่ลงในภาชนะที่มีขนาดพอที่เราจะนำตลับหมึกจุ่มลงไปได้ โดยจุ่มเฉพาะส่วนที่เป็นท่อน้ำหมึกลงไปแช่ไว้ประมาณ 3- 4 นาที หรือนานกว่า จนกว่าจะเริ่มเห็นน้ำหมึกเริ่มไหลออกมาจากปลายท่อน้ำหมึกผสมกับน้ำ แต่ไม่ต้องกังวลว่าหมึกจะไหลออกจนหมด จากนั้นเมื่อแน่ใจว่าไม่มีคราบหมึกติดอยู่ใน nozzle แล้วก็ค่อยๆ ซับเบาๆ ให้แห้งด้วยผ้าสะอาด จากนั้นนำสำลีชุบแอลกอฮอล์หมาดๆ เช็ดบริเวณที่เป็นโลหะ (สีของโลหะจะเป็นสีทองแดง) ของทั้งตลับหมึกและที่ใส่ตลับหมึกตัวพรินเตอร์ จากนั้นนำตลับหมึกใส่กลับเข้าไปในพรินเตอร์เข้าที่แล้วล้างหัวพิมพ์ด้วยโปรแกรมของพรินเตอร์อีกที

ถ้าคุณได้รับข้อความ“Not Enough Disk Space to Print” แสดงว่าคุณกำลังมีปัญหากับหน่วยความจำของเครื่อง วิธีแก้คือ ให้ไปที่ Start> Search > All files and folders แล้วพิมพ์คำว่าค้นหาว่า *.tmp ในไดรฟ์ C: (รวมไปถึง subfolders ด้วย) เมื่อค้นหาเสร็จแล้วให้เลือกทั้งหมดแล้วลบทิ้งโดยไม่ต้องเหลือไว้ใน Recycle Bin (หรือกด Shift+Delก็ได้) จะทำให้เครื่องมีพื้นที่มากขึ้นและสามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้นด้วย

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มีเศษกระดาษ ผงกระดาษ หรือ Clip ตกลงไป ให้ถอดมาทำความสะอาด และอีกอย่างหนึ่งที่มีปัญหาบ่อยคือ แผงกั้นระหว่างหัวพิมพ์กับกระดาษอาจชำรุด ให้หาซื้อมาเปลี่ยนเอง (จะได้ราคาถูกกว่า ไม่เสียค่าแรงด้วย)

เรื่องนี้ผมก็พบบ่อยเหมือนกัน ปัญหานี้แก้ไขโดยการเลื่อนคันโยก ปรับตำแหน่งของการพิมพ์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง(เช่น หมายเลข 0-1 สำหรับการพิมพ์กระดาษ 1 แผ่น , หมายเลข 2-3 กระดาษมีสำเนา 2 แผ่น เป็นต้น)

ตรวจสอบคันโยกว่าปรับตำแหน่งใด ปกติจะมี 2 ตำแหน่งคือ แบบกระดาษ 1 แผ่น และแบบกระดาษต่อเนื่อง

สาเหตุที่พบมาก คือ ปรับความใกล้ไกลเวลาพิมพ์กระดาษที่มีความหนาต่างๆ ไม่ถูกต้อง ลองศึกษาจากคู่มือดู และอีกอย่างหนึ่งผ้าหมึกถ้าจางแล้วให้รีบเปลี่ยน อย่าฝืนใช้ เพราะจะทำให้หัวเข็มชำรุดได้ง่าย

ปัญหาจากการอุดตันของตัวตลับหมึก ควรเลือกซื้อเครื่องที่หัวพ่นหมึกอยู่ในตลับจะดีกว่า เวลาเปลี่ยนจะได้เปลี่ยนพร้อมกันไป (ราคาจะแพงกว่าสักนิด) สำหรับวิธีป้องกันปัญหาได้บ้างคือ หลังจากมีการเปลี่ยนตลับหมึกแล้ว ควรใช้ให้หมด ไม่ควรถอดออกมาเพราะจะทำให้อุดตัน สำหรับการทดสอบ แก้ไขให้ลองล้างหัวเข็ม ผ่านคำสั่งในโปรแกรม หรือผ่านทางเครื่องพิมพ์โดยตรง (คงต้องอ่านคู่มือดูแต่ละรุ่นอีกทีครับ)

หมึกหมดครับ สีใดสีหนึ่งอาจหมด ทำให้สีที่ผสมออกมาไม่สมบูรณ์ การแก้ไขให้เปลี่ยนตลับหมึก Inkjet บางรุ่นสามารถเปลี่ยนตลับสีแยกเป็นสีๆ ได้ด้วย ช่วยให้ประหยัดเงินได้มากขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่เพราะคุณเพิ่งเปลี่ยนตลับหมึก ให้ทดสอบโดยใช้วิธีการล้างหัวเข็ม อาจล้างผ่านคำสั่งในโปรแกรม หรือผ่านทางเครื่องพิมพ์โดยตรง (คงต้องอ่านคู่มือดุแต่ละรุ่นอีกทีครับ)

ปัญหาอย่างหนึ่งคือ ผงหมึกไม่อยู่ในแนวราบ ให้เอาตลับหมึกมาเขย่า ๆ(แนวราบ) อ้อ! ถ้าเป็นตลับใหม่ อย่าลืมดึงแผ่นพลาสติกที่กั้นผงหมึกไวด้วย มิฉะนั้นอาจพิมพ์ไม่ติดเลย

สาเหตุอาจมาจากกระดาษติดครับ ผมพบบ่อยมากถึงมากที่สุด ให้ลองถอดตลับผงหมึกออกมา สังเกตว่ามีกระดาษติดหรือไม่ ถ้ามีให้ระวังเรื่องการดึงกระดาษโดยดูจากคู่มือเรื่องทางเดินของกระดาษ ให้ดึงไปตามเส้นทางของทางเดินกระดาษ ฟันเฟืองของเครื่องพิมพ์จะได้ไม่หัก (เฟืองแต่ละตัว ราคาค่อนข้างแพงครับ)

ตัวลูกกลิ้งสกปรก ให้เปิดเครื่อง เอาตลับผงหมึกออก และทำความสะอาดลูกกลิ้งดู สาเหตุอีกอย่างหนึ่งคือตัวตลับไม่ได้มาตรฐาน (อาจเกิดจากตลับที่มีการนำมาใช้ใหม่) ควรตรวจดูก่อน

แหล่งที่มาของบทความ :
http://www.sc.mahidol.ac.th/scbc/bc_internet/tips/tipprinter.html
หนังสือ PCTODAY
TRUEPLOOKPANYA

จำหน่ายหมึกพิมพ์ออนไลน์ | Brother | Canon | Epson | HP | OKI | Ricoh | Samsung | FujiFilm | Pantum

โทรเลยครับ เฮียส่งพร้อมรับสาย